นิติบุคคลหมู่บ้านพฤกษา 15 จัดงานสืบสานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2567 สุดยิ่งใหญ่

16 พฤศจิกายน 2567

วันที่ 15 พฤษจิกายน 2567 ที่บริเวณริมทะเลสาบ ลานอเนกประสงค์ของหมู่บ้านพฤกษา 15 ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นางสาวกัญญดากร เรืองฤทธิ์ รองประธานนิติบุคคล ฝ่ายการเงินและกิจกรรม พร้อมด้วย นายไพโรจน์ อินทร์ทรัพย์ รองประธานนิติบุคคล ฝ่ายความปลอดภัย เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ทางนิติบุคคลจัดเพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีลอยกระทงและเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนให้มีความตระหนักในการมีส่วนร่วมสืบสานประเพณีของไทย โดยนิติบุคคลหมู่บ้านพฤกษา 15 ได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับให้ประชาชนได้ร่วมลอยกระทงในทะเลสาบและจัดให้มีการออกร้านขายของสินค้าจากคนในชุมชนกว่า 300 ร้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน การแสดงจากนักเรียนโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ และการ ประกวดหนูน้อยนพมาศ ประชาชนเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

นอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือจากประชาชนในการรณรงค์และให้ความสาคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมกับแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โดยรณรงค์ให้ใช้วัสดุพื้นบ้านหรือวัสดุจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่ายในการทำกระทง แทนการใช้โฟมซึ่งย่อยสลายได้ยาก

สำหรับวันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณโดยมีความ เชื่อว่าเป็นพิธีรับเสด็จพระพุทธองค์กลับลงมาจากสวรรค์หลังเสด็จไปโปรดพุทธมารดา บูชารอยพระพุทธบาท บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บางก็เชื่อว่าบูชาพระอุปคุตเถระ หรือเป็นการบูชาเทพเจ้าตาม ความเชื่อ แต่ปัจจุบันนิยมทาเพื่อขอขมาและระลึกถึงคุณพระแม่คงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่างๆ แก่มนุษย์ โดยประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า “พิธีจองเปรียง” ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บาน เฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป

ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ แม้เวลาจะล่วงเลยมานาน แต่ประเพณี ลอยกระทงก็ยังยึดมั่นอยู่กับคนไทย เพราะนอกจากเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ของไทยไว้แล้วยังเป็นการระลึกถึงคุณค่าของแม่น้ำ อีกทั้งเป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่ได้ทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูล ลงไปในแหล่งน้ำต่างๆ พร้อมลอยทุกข์โศกโรคภัยและสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

สามารถติดตามเราเพิ่มได้ที่ Facebook : ข่าวสารเมืองปราการ V2 Tiktok : maungprakarn_v2

ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวยอดนิยม